วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2552

การปลูกต้นไม้ลดโลกร้อน
โลกร้อน หรือเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก
ปกติก๊าซต่าง ๆ ที่สะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศอยู่เหนือพื้นผิวโลกขึ้นไป 25 กิโลเมตร ได้รวมตัวกันเข้าเป็นเกราะกำบังพื้นผิวโลกของเราให้มีความอบอุ่นพอเหมาะกับการดำรงชีวิต ทำหน้าที่คล้ายกระจกในเรือนกระจกหรือ "กรีนเฮาส์" ที่สร้างขึ้นมาเพื่อรักษาอุณหภูมิให้ต้นไม้ภายในเรือนกระจกมีชีวิตอยู่ได้ เนื่องจากก๊าซพวกนี้ยอมให้ความร้อนจากดวงอาทิตย์ผ่านลงมายังพื้นโลกได้ แต่จะกักเก็บความร้อนบางส่วนเอาไว้มิให้สะท้อนกลับออกไปสู่อวกาศ ทำให้โลกมีอุณหภูมิพอเหมาะ ปัจจุบันเกราะกำบังนี้มีความหนาแน่นมากขึ้น ทำให้สามารถเก็บความร้อนจากการดูดซับรังสีไว้มากขึ้นโลกจึงมีอุณหภูมิสูงขึ้น กลุ่มก๊าซที่รวมตัวกันเป็นเกราะกำบัง ได้แก่ ก๊าซมีเทน ไนตรัสออกไซด์ คลอโรฟลูออโรคาร์บอน คาร์บอนเตตระคลอไรด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ และที่สำคัญคือ คาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งมีมากที่สุด การเผาป่าไม้เป็นตัวการทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ต้นไม้แต่ละต้นก็จะทำลายการดูดซึม CO2 ไปด้วย นัก วิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ที่ทำการวิจัยเรื่องบรรยากาศในปัจจุบัน เชื่อว่าการสะสมตัวของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ใน 60 ปีข้างหน้าและจะทำให้อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นระหว่าง 1.5-4.5 องศาเซลเซียสผลของปรากฏการณ์เรือนกระจก หรือปรากฏการณ์เรือนต้นไม้ ที่ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นดังกล่าวมีผลกระทบต่อเนื่องคือ



(1) ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น





(2) ทำให้เกิดอุทกภัย/ความแห้งแล้ง พื้นที่ที่เคยอุดมสมบูรณ์จะเกิดการแห้งแล้งลงสลับกับการเกิดน้ำท่วม

ป่าไม้มีผลกระทบต่อสภาวะของโลกใน 3 ทาง คือ อย่างแรก การดูดซึมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศ ช่วยรักษาอุณหภูมิของโลกให้คงที่ อย่างที่สอง การปล่อยไอน้ำสู่บรรยากาศและการเพิ่มความชื้น และอย่างสุดท้าย คือ การปกคลุมพื้นดินจากแสงแดด ซึ่งก็เป็นการช่วยลดความร้อนของโลกได้เช่นกัน แต่ผลกระทบอย่างแรกเท่านั้นที่นับว่าเป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อนที่ได้มาจากการปลูกป่าปลูกต้นไม้ผลการศึกษาชี้ว่า ป่าในเขตร้อนชื้นนั้นมีประโยชน์ต่อสาภวะโลกร้อนนี้มาก เนื่องมาจากการดูดซึมคาร์บอนจากบรรยากาศและเพิ่มปริมาณเมฆ หรือความชื้น ซึ่งช่วยในการลดอุณหภูมิของโลกได้เป็นอย่างดีแต่ในทางตรงกันข้าม ผลการทำนายในปีค.ศ. 2100 เขตป่าไม้ในบริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรและบริเวณขั้วโลกจะทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 10 องศาฟาเรนไฮต์ เมื่อเปรียบเทียบกับกรณีที่ไม่มีป่าไม้บริเวณนี้ ทีมนักวิจัยได้ให้เหตุผลว่าการปกคลุมพื้นดินของป่าไม้ในบริเวณขั้วโลกมีผลต่อการดูดซับแสงแดดจากท้องฟ้าได้มากขึ้น ซึ่งนั่นหมายถึงการเพิ่มอุณหภูมิของผิวโลก และก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนได้เร็วขึ้นนั่นเองจากผลการศึกษาดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่า การอนุรักษ์ รักษาป่าไม้ ทั่วโลกอาจจะไม่ได้มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการชะลอการเกิดสภาวะโลกร้อน แต่วิธีการที่ดีที่สุดในการรับมือและหลีกเลี่ยงกับสภาวะนี้ก็คือ การเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการด้านพลังงาน จากพลังงานถ่านหินและเชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมลพิษอื่นๆจากการเผาไหม้ มาเป็นพลังงานทดแทนหรือพลังงานประเภทใหม่ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ อย่างเช่น ป่าไม้ ให้คงอยู่เพื่อสร้างความสมดุลให้กับสภาพแวดล้อมบนโลก


วิธีที่จะลดปัญหาโลกร้อนอีกวิธีหนึ่งคือ

การช่วยกันปลูกต้นไม้คุณค่าที่แต่ละบุคคลให้กับต้นไม้จะมีความแตกต่างกันอย่างมาก บางคนให้ค่าต่ำ ในขณะที่บางคนให้ค่าสูงกว่า ถึงสูงกว่ามาก เนื่องจากต้นไม้ให้คุณประโยชน์ทั้งทางตรงเช่น เนื้อไม้ ดอก และผล และทางอ้อม เช่น การช่วยลดอุณหภูมิ การช่วยให้นิเวศสมดุลย์ ผู้ที่ให้ค่าต้นไม้ต่ำเกิดจากการพิจารณาเฉพาะส่วนที่เป็นการใช้ประโยชน์โดยตรง ผู้ที่ให้ค่าสูงจะเกิดจากการพิจารณาถึงประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมร่วมด้วย การพิจารณาคุณค่าของต้นไม้ด้วยความลึกซึ้งในการใช้ประโยชน์ครบถ้วนมากเท่าใดก็จะให้คุณค่าสูง บางคนให้คุณค่าต้นไม้สูงถึงแม้ตนเองจะไม่ได้ใช้ประโยชน์โดดยตรงแต่เห็นคุณค่าที่สังคมโดยรวมจะได้รับ ความแตกต่างของการให้ค่านี้ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับข้อมูลและประสบการณ์ตรงส่วนบุคคลในอดีตด้วย
มูลค่าต้นไม้ส่วนที่นักเศรษฐศาสตร์ให้ความสนใจมากคือส่วนที่เป็นคุณประโยชน์ทางอ้อม(Indirect use value) และส่วนที่เป็นคุณค่าแม้จะไม่ได้เกิดจากการใช้ (Passive use value) ว่ามีมากน้อยเพียงใด และจะวัดได้ด้วยวิธีใดเพื่อให้ได้ค่าที่แท้จริง ตัวอย่างรูปธรรมของประโยชน์ทางอ้อมจากต้นไม้เช่น ต้นไม้ช่วยให้อุณหภูมิเย็นลง ส่งผลต่อการประหยัดพลังงาน จากการตรวจวัดพื้นที่ 200 ตารางวามีต้นไม้คลุมพื้นที่ร้อยละ 30 การดูดความร้อนเพื่อใช้ในการคายน้ำทำให้อุณหภูมิลดลงคิดเป็นค่าความร้อน 1.2 ล้านกิโลกรัม-แคลอรีต่อวัน ซึ่งเทียบได้กับเครื่องปรับอากาศสำหรับบ้านขนาดกลางที่เปิดใช้ตลอด 24 ชั่วโมง และจากการสำรวจพบว่าอุณหภูมิใจกลางกรุงเทพฯ จะสูงกว่าบริเวณชานเมืองที่มีต้นไม้ปกคลุมมากกว่าเฉลี่ย
ประโยชน์ทางอ้อมที่ต้นไม้ให้คุณอนันต์อีกด้านหนึ่งคือการให้ O2 และการดูด CO2 จากกระบวนการสังเคราะห์แสง ร้อยละ 30 ของปริมาณ O2 ของโลกได้มาจากต้นไม้บนบก และอีกร้อยละ 70 ได้มาจากสาหร่ายในทะเล การเผาไหม้ในกระบวนการต่างๆทำให้ O2 ถูกใช้ไป กลายเป็น CO2 เกิดขึ้นในบรรยากาศ ในปี 2504 ปริมาณ CO2 ในอากาศมีเท่ากับ 239 สลส.(ส่วนต่อล้านส่วน) ปริมาณ CO2 เพิ่มขึ้นเป็น 319 สลส.ปี 2543 ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าการเพิ่มขึ้นของ CO2 เป็นสาเหตุของภาวะเรือนกระจก และวิธีแก้ไขภาวะเรือนกระจกที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือการเพิ่มปริมาณต้นไม้ (เดชา, 2543) จากการศึกษาความสามารถในการดูดคาร์บอนของต้นประดู่ที่บริเวณรีมถนนที่สวนจตุจักร สวนลุมพีนี สีลม และลาดพร้าว พบว่าต้นประดู่สามารถดูดซับ CO2 ได้ระหว่าง 1.19 – 1.76 กรัม/ตารางเมตร/ชั่งโมง (ลดาวัลย์, 2540 อ้างถึงใน เดชา, 2543) และจากการศึกษาปริมาณผลผลิต O2 จากไม้ยืนต้นอายุ 5 ปี จะให้ O2 แก่บรรยากาศคิดเป็นมูลค่ารวมถึง $31,250 (Das, n.d.) ประโยชน์ทางอ้อมของต้นไม้ดังกล่าวนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ส่วนที่มีความซับซ้อนและมีความสำคัญมากคือคุณค่าต่อดุลยภาพทางนิเวศของสิ่งมีชิวิตต่างๆ คุณค่าต่อมนุษย์ด้านสุนทรียภาพ และในบางพื้นที่ต้นไม้ยังมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์รวมอยู่ด้วย

ประโยชน์ของต้นไม้มีดังนี้ 1.ต้นไม้จะ ช่วยคายออกซิเจนในช่วงกลางวัน ทำให้เราได้อากาศบริสุทธิ์ ซึ่งการได้สูดอากาศบริสุทธิ์ มีผลดีต่อสุขภาพ ของเรา

2. ช่วยดูดซับก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นตัวการให้เกิดภาวะเรือนกระจก ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน

3. เป็นร่มเงา บังแสงแดด ให้เกิดความร่มรื่น

4. เป็นที่อยู่ อาศัยของสัตว์ป่า

5. พืช ผล สามารถนำมารับประทานเป็นอาหาร หรือ ยารักษาโรคได้

6. เป็นแหล่งต้นน้ำ ลำธาร เนื่องจากที่บริเวณราก ที่ดูดซับน้ำ และ แร่ธาตุ เป็นการกัก เก็บน้ำไว้บริเวณผิวดิน

7. บริเวณรากของต้นไม้ ที่ยึดผิวดิน ทำให้เกิดความแข็งแรงของบริเวณผิวดินป้องกันการพัง ทลายจากดินถล่ม เนื่องจากมีรากเป็นส่วนยึดผิวดินอยู่ ตัวอย่างที่เห็นเด่นชัด คือ การสาธิต การนำหญ้าแฝกมาประยุกต์ ป้องกันการพังทลาย ของหน้าดิน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระปรีชา สามารถของพระมหากษัตริย์ ประเทศของเรา

8. เป็นแนวป้องกัน การเกิดน้ำท่วม เนื่องจาก เมื่อเกิดสภาพที่น้ำเกินสมดุล ท่วมลงมาจากยอดเขา จะมีแนวป่า ต้นไม้ ช่วยชะลอความแรง จากเหตุการณ์น้ำท่วม

9. ลำต้น สามารถ นำมาแปรรูปทำประโยชน์ ต่างๆ เช่น บ้านเรือน ที่พักอาศัย สะพานเฟอร์นิเจอร์ เรือ

10. การปลูกต้นไม้ เป็นการผ่อนคลายความเครียดได้อย่างนึง

11. เมื่อเจริญ สามารถนำไปขายได้ราคา โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายมาก

12 ต้นไม้ เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญต่อบรรดาสัตว์ป่า เป็นส่วนนึงในระบบนิเวศวิทยา

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552

กระต่ายน้อย








กระต่ายน้อยน่ารัก


-อเมริกัน ฟัชซี่่ ลอป

ประวัติความเป็นมา ต้นกำเนิดของอเมริกันฟัซซี่ลอปมาจากการผ่าเหล่าของฮอลแลนด์ลอป หรืออีกกระแสหนึ่งเล่าว่า กระต่ายสายพันธุ์นี้เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างฮอลแลนด์ลอปที่ลักษณะขนเป็นแบบอังโกร่าในกลุ่มนักพัฒนาสายพันธุ์กระต่ายทางฝากตะวันตกของสหรัฐอเมริกา จากนั้นก็ถูกขายไปยังฝั่งตะวันออก ลูกที่เกิดมาก็ยังมีขนที่ยาวเหมือนอังโกร่า เมื่อผสมลูกเหล่านี้ รุ่นหลานก็ยังปรากฏเป็นกระต่ายหูตกขนยาวอยู่ตลอดมา สายพันธุ์อเมริกันฟัซซี่ลอปถูกเสนอให้มีการยอมรับสายพันธุ์ต่อสมาคมพัฒนาพันธุ์กระต่ายของสหรัฐอเมริกา ในงานประกวดกระต่ายสวยงาม ณ เมดิสัน รัฐวิสเคาส์ซิน ในปี ค.ศ. 1988 หรือ พ.ศ. 2531 โดยเพตตี้กรีน คาร์ล


-ดัชต์

กระต่ายพันธุ์ Dutch นี้ ว่ากันว่า มีมานานมาก ต้นกำเนิดเค้าอยู่ที่ ฮอลแลนด์ค่ะ แต่มาฮิตกันที่อังกฤษ ที่นิยมชมชอบกันก็คือ มาร์คกิ้งค่ะ คือลายค่ะ จะต้องตรงตามมาตรฐานค่ะการเลือก ถ้าจะให้สวยล่ะก็ สีต้องตัดกันเป๊ะๆค่ะ ระหว่างสีขาวกับสีลาย ตัดกันเป็นเส้นชัดเจน แก้มต้องไม่ตอบ





-ฮอนแลนด์ ลอป




ประวัติความเป็นมา
นักพัฒนาพันธุ์กระต่ายชาวเนเธอร์แลนด์ชื่อ นายแอนเดรียน เดอคอก ซึ่งในขณะนั้นเป็นนักพัฒนากระต่ายสายพันธุ์แทน แต่กลับมีความชื่นชอบกระต่ายสายพันธุ์เนเธอร์แลนด์ดวอฟและสายพันธุ์เฟรนช์ลอปเป็นพิเศษ มีความคิดที่จะผสมกระต่ายให้ได้กระต่ายหูตกที่มีขนาดเล็กลงกว่าที่เป็นอยู่ ดังนั้นในช่วงฤดูหนาวปี ค.ศ. 1949 หรือ พ.ศ. 2492 เขาได้ผสมกระต่ายเฟรนช์ลอปเพศผู้กับกระต่ายขาวเนเธอร์แลนด์ดวอฟเพศเมีย โดยหวังว่าจะได้กระต่ายหูตกที่ตัวเล็กลง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ หลังจากการผสมข้ามพันธุ์ในครั้งนั้น สองปีต่อมา คือในปี ค.ศ. 1951 หรือ พ.ศ. 2494 เขาลองผสมกระต่ายเฟรนช์ลอปเพศเมียกับกระต่ายเนเธอร์แลนด์ดวอฟเพศผู้ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะผสมกระต่ายต่างสายพันธุ์ที่มีขนาดที่แตกต่างกันมากเช่นนี้ แต่เขาก็ประสบความสำเร็จ จากความพยายามผสมในครั้งที่ 3 จนกระทั่งได้ลูกกระต่ายออกมาทั้งหมดหกตัว ทุกตัวมีหูตั้งและชิดกัน อันเกิดจากลักษณะเด่นของกระต่ายเนเธอร์แลนด์ดวอฟ ซึ่งข่มทับอย่างสมบูรณ์ ในปีถัดมา เขานำลูกกระต่ายเพศเมียเหล่านั้นไปผสมกับกระต่ายอิงลิชลอปเพศผู้สีฟางข้าว ได้ลูกกระต่ายออกมาห้าตัว ตัวเมียหนึ่งตัวในครอกนี้หูตก สองตัวหูตั้ง ที่เหลือ หูตกข้างตั้งข้าง ด้วยความที่ฝืนธรรมชาติกระต่ายเพศเมียที่ได้ทุกตัวจากการทดลองผสมข้ามสายพันธุ์ ไม่สามารถผสมติดให้ลูกเลย กระนั้นเขาก็ไม่ได้ละความพยายาม เขาได้ทดลองเอาพี่น้องต่างครอกผสมกัน ผลปรากฏว่าเป็นผลสำเร็จ จำนวนลูกหูตกที่ได้มากขึ้นและก็มีขนาดที่เล็กลงด้วย จนกระทั่ง ในปี ค.ศ. 1955 หรือ พ.ศ. 2598 ความพยายามของเขาก็เป็นผลสำเร็จ กระต่ายต้นแบบฮอลแลนด์ลอปได้ถือกำเนิดมาที่น้ำหนักประมาณ 2.5 ถึง 3 กิโลกรัม ในเดือนมกราคมปี ค.ศ. 1964 หรือ พ.ศ. 2507 กระต่ายแคระหูตกฮอลแลนด์ก็ได้รับการรับรองมาตรฐานสายพันธุ์จากสภากระต่ายแห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่น้ำหนักตัวน้อยกว่าสองกิโลกรัม
กระต่ายแคระหูตกฮอลแลนด์ของแอนเดรียน ได้นำเข้ามาในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1976 หรือ พ.ศ. 2519 และได้มีการเสนอให้มีการยอมรับสายพันธุ์นี้ต่อสมาคมพัฒนาพันธุ์กระต่ายของสหรัฐอเมริกา ที่งานประกวดกระต่ายสวยงาม ณ ทักสัน ในปี ค.ศ. 1980 หรือ พ.ศ. 2523

-เจอร์รี่ วูดดี้









เจอรี่ วู๊ดดี้ (Jerry Woody)
ชื่อของเจอรี่ วู๊ดดี้ นั้นค่อนข้างสร้างความสับสนให้กับผู้เลี้ยง เป็นอันมาก เนื่องจากไปฟังแล้วคล้ายกับ Jerry Wooly (เจอรี่ วูลลี่) ของต่างประเทศ อันที่จริงแล้ว เป็นคนละพันธุ์กันค่ะ เจอรี่ วู๊ดดี้ จะลักษณะคล้ายกับ Teddy ค่ะ แต่ว่า ขนที่หน้าจะสั้นกว่าเล็กน้อย และขนาดเมื่อโตเต็มที่ ตัวจะใหญ่กว่า ปัจจุบันไม่ค่อยมีขายแล้วค่ะ
-ไลออน เฮด









กระต่ายพันธุ์ Lion Head หรือที่คนไทยเรานิยมเรียกสั้นๆ ว่า Lion ว่ากันว่าเกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ค่ะ ซึ่งกระต่ายพันธุ์นี้ พบอยู่ทั่วไปในบ้านเรา แต่ว่า ยังไม่ได้รับการรับรองเป็นพันธุ์มาตรฐาน ใน European
ประวัติของ Lion Head คือ มีการนำเข้ามายังประเทศอังกฤษเมื่อปลายปี 1995 และได้รับการบอกเล่า ว่า เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ ระหว่าง Swiss Fox และ Netherland Dwarf บ้างก็บอกว่า มาจากการผสมกับ แองโกล่ามา หลังจากไม่ได้รับการยอมรับ ต่อมาได้มีการพยายามจัดตั้งชมรม สำหรับ Lion Head ขั้นในประเทศอังกฤษ ในปี คศ 1996 โดยชั้นชื่อว่า"The National Lionhead Rabbit Club" มีชื่อย่อว่า NALRC และใน�� ายหลังก็มีสมาคมเพิ่มขึ้นในประเทศอเมริกาอีกด้วย ชื่อว่า "North American Lionhead Rabbit Club" โดยก่อตั้งขึ้นในปี 2001 ค่ะ
ลักษณะของ lion Head ก็คล้ายๆกับชื่อค่ะ คือหัวสิงโต คือ เป็นกระต่ายที่ไม่ใหญ่มาก มีขนยาวแค่บริเวณหัวเท่านั้น (เหมือนสิงโต)มีแผงคอยาวออกมาแบบสิงโต ตามตัวห้ามมีขนยาวปุยเป็นกระโปรง ขนที่ตัวจะค่อนข้างเรียบ

ลักษณะตามมาตรฐานของสมาคม NALRC (North American Lionhead Rabbit Club) คือ
1. ลำตัว จะต้องสั้น กลมป้อม ไหล่และอกควรจะกว้าง ตะโพกต้องกว้าง กลม 2. หัว ต้องใหญ่ ระยะห่างระหว่างตา ต้องกว้าง หัวและตัวควรจะชิดกันไม่เห็นคอ ตาต้องกลมโต 3. หู ต้องสั้น อยู่บนส่วนบนของหัว ต้องตั้ง และ มีขนปกคลุมหู 4. แผงคอ เป็นขน Wool คือขนปุย และแผงคอต้องเด่น ทั้งด้านบน และด้านข้างหู ต้องมีความยาวของแผงคออย่างน้อย 2 นิ้ว แผงคอต้องเป็นแผงกลมรอบๆหัว ส่วนขนตรงหน้าและตัวจะไม่ใช่ขน Wool เหมือนแผงคอค่ะ
ขนาดเมื่อโตเต็มที่จะประมาณ 2 กิโลกรัมค่ะแต่ว่ากระต่ายพันธุ์ ไลอ้อน ที่ผสมได้ในเมืองไทยนี้ บางตัวเมื่อโตขึ้นมาแล้ว แผงคอไม่ออกก็มีค่ะ หรือบางตัวก็แผงคอไม่ได้รูป สั้นบ้างยาวบ้าง ก็มีค่ะ
ย้ำอีกครั้งว่าไลออน นั้นไม่ได้ฟูไปหมดทั้งตัวนะคะ จะฟูมากๆ ก็ตรงแผงคอ แต่หากเพื่อนๆ ต้องการกระต่ายที่ฟูไปหมดทั้งตัว ก็ควรจะเป็นพันธุ์อื่น เช่น เท็ดดี้แบร์ค่ะ
-เนเธอร์แลนด์ ควอฟ
















เมื่อประมาณช่วงปี ค.ศ. 1880 หรือราว พ.ศ. 2423 ที่ประเทศอังกฤษ ได้ปรากฏว่ามีกระต่ายสายพันธุ์ดัทช์ได้ให้กำเนิดลูกหลากหลายครอกที่มี สีขาวแต่มีลายสีต่างๆ ไม่เป็นสีขาวทั้งตัว มีตาสีแดง มีลักษณะลำตัวที่เล็ก สั้นกระทัดรัด มีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 1.6 ถึง 2 กิโลกรัม แต่มีขนที่นุ่มลื่นสวยงาม ซึ่งเป็นที่มาของกระต่ายโปลิช (Polish) แม้ว่ากระต่ายที่ได้จะยังมีเลือดที่ไม่นิ่ง แต่การผสมแบบในสายเลือด (Line Breeding) ทำให้ได้กระต่ายในรุ่นต่อมาที่มีสีขาวมากขึ้น จนกระทั่งได้กระต่ายสีขาวล้วน ตาสีทับทิม (Ruby-Eyed White) ที่เป็นต้นกำเนิดของกระต่ายเนเธอร์แลนด์ดวอฟ ในปัจจุบัน
ด้วยแรงบันดาลใจจากการนำเข้ากระต่ายสายพันธุ์โปลิช มายังสหราชอาณาจักรอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1884 หรือ พ.ศ. 2427 กระต่ายพันธุ์โปลิชจากประเทศเยอรมัน ได้ถูกนำมาผสมข้ามพันธุ์กับกระต่ายป่าในประเทศเนเธอร์แลนด์ที่มีขนาดเล็กโดยบังเอิญ จนทำให้เกิดการถ่ายทอดยีนส์แคระลงในกระต่ายพันธุ์โปลิช ทำให้มีขนาดเล็กและมีลำตัวที่สั้นลง ในเวลานั้นกระต่ายแคระ จึงมีแต่สีขาวล้วนและมีตาสีทับทิม
ในช่วงของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง กระต่ายแคระ สีขาวตาฟ้า (Blue-Eyed White) ได้ถือกำเนิดขึ้นในจักรวรรดิเยอรมัน แต่ลักษณะของกระต่ายแคระสีขาวตาฟ้าในขณะนั้นจะมีโครงสร้างกระดูกที่ใหญ่ ลำตัวที่ยาวกว่า ขนหยาบและสั้นกว่าของขาวตาทับทิม จนกระทั่งถึงช่วง ปลายทศวรรษปี 1930 หรือราว พ.ศ. 2480-2483 กระต่ายแคระที่ถูกพัฒนาขึ้นมาในขณะนั้น จึงมีเพียงแค่ 2 ประเภทสีเท่านั้น คือ ขาวตาทับทิม และ ขาวตาฟ้า
จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1948 หรือ พ.ศ. 2491 ถือได้ว่าเป็นยุคเริ่มต้นของกระต่ายเนเธอร์แลนด์ดวอฟ เนื่องจากกระต่ายสายพันธุ์นี้ได้ถูกนำเข้าไปยังสหราชอาณาจักรอังกฤษ โดยนักพัฒนาสายพันธุ์กระต่าย และในปี ค.ศ. 1969 หรือ พ.ศ. 2512 กระต่ายสายพันธุ์นี้ ได้รับความนิยมในสหรัฐอเมริกา จนได้รับการยอมรับจากสมาคมนักพัฒนาพันธุ์กระต่ายแห่งสหรัฐอเมริกา (The American Rabbit Breeders Association, Inc. หรือ ARBA) โดยมีการปรับปรุงข้อกำหนดของรายละเอียดมาตรฐานสายพันธุ์จากของสภากระต่ายแห่งสหราชอาณาจักร (The British Rabbit Council) เพียงนิดหน่อยเท่านั้น
สำหรับในประเทศไทย เมื่อปลายปี ค.ศ. 2003 หรือ พ.ศ. 2546 ได้มีการนำเข้ากระต่ายสายพันธุ์นี้คุณภาพระดับประกวดจากสหรัฐอเมริกา สำหรับสมาชิกชมรมคนรักกระต่ายแห่งประเทศไทย สีที่นำเข้ามาในขณะนั้น คือสีขาวตาฟ้า สีดำสร้อยทอง (Black Otter) และสีดำสร้อยเงิน (Black Silver Marten) และในปีต่อมา ก็ได้มีการนำเข้า สีต่างๆ ที่แปลกและสวยขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เช่น สีทองแดง (Siamese Sable) สีควันบุหรี่ (Siamese Smoke Pearl) สีฮิมาลายัน (Himalayan) และสีที่หายาก อย่างสีวิเชียรมาศ (Sable Point) หรืออย่าง สีพื้นเช่น สีดำ สีบลู (Blue) สีชอกโกแลต ทำให้ในขณะนี้ ประเทศของเราก็มีกระต่ายสายพันธุ์นี้ในประเภทสีต่างๆ มากมาย ดังที่ได้เห็นกันแล้วตามงานประกวดต่างๆ และเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ก็มีการนำเข้ากระต่ายสายพันธุ์นี้จากประเทศต้นกำเนิดคือ เนเธอร์แลนด์ ความแตกต่างหลักๆของกระต่ายจากสหรัฐอเมริกาและจากเนเธอร์แลนด์ นอกเหนือจากลักษณะทางกายภาพ อันได้แก่ น้ำหนัก หุ่น รูปทรง หัว กะโหลก และลำตัว ระบบเพดดีกรีและการจดทะเบียนของสหรัฐอเมริกาถือได้ว่ามีระบบที่ดีที่สุดในโลก ซึ่งดีกว่าของกระต่ายทางเนเธอร์แลนด์ ซึ่งยังไม่มีการจดทะเบียนที่มีระบบ จึงทำให้กระต่ายจากทางสหรัฐอเมริกามีคุณภาพและราคาที่สูงกว่า
ในปัจจุบันสายพันธุ์นี้เป็นที่ยอมรับและมีชื่อเสียงมากในวงการนักพัฒนาสายพันธุ์กระต่ายสวยงาม จนถือได้ว่าเป็น อัญมณีแห่งวงการกระต่ายสวยงาม (Gem of the Fancy Rabbits)


-เท็ดดี้ แบร์ Teddy หรือ Teddy Bear















เป็นกระต่ายที่เป็นลูกผสมเช่นกัน และได้พัฒนาสายพันธุ์กันมาต่อจาก เจอรี่ วู๊ดดี้ จนค่อนข้างนิ่งในเมืองไทย กระต่ายพันธุ์นี้ จะนิยมเลี้ยงกันมาก เพราะว่า รูปร่างน่ารัก ตัวจะกลมฟู ขนจะฟูยาวประมาณ 4-5 นิ้ว และก็มีราคาไม่แพง เพาะพันธุ์ขึ้นจากฟาร์มในเมืองไทย ต่างประเทศไม่มีค่ะ